การขนส่ง (transportation)

          การขนส่ง หมายถึง การเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ถ้าเป็นการเคลื่อนย้ายบุคคล เรียกว่า การขนส่งผู้โดยสาร หากเป็นการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือสิ่งของต่าง ๆ เรียกว่า การขนส่งสินค้า

          การขนส่ง มีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนการกระจายสินค้าสู่ตลาดเพราะ การขนส่งทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตจากแหล่งผลิตต่าง ๆ มาสู่โรงงาน เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า เมื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้ว ก็นำมาเก็บไว้คลังสินค้า เพื่อจัดส่งผ่านไปยังพ่อค้าคนกลาง จนกระทั่งถึงผู้บริโภค ในเวลาที่ผู้บริโภคต้องการ และในสถานที่ที่ผู้บริโภคสะดวกที่จะซื้อหา นอกจากนี้ การขนส่งยังมีผลต่อต้นทุนรวมในการสนับสนุนการกระจายสินค้าสู่ตลาดอีกด้วย เพราะค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ถือเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งในการนำมากำหนดราคาสินค้าที่จำหน่ายในตลาด

          การปรับปรุงการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสนับสนุนการกระจายสินค้าไปสู่ตลาดในหลาย ๆ ด้าน ซึ่ง Ronald H. Ballou (1992 : 160-161) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการปรับปรุงการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้  


                1. ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น 


                                 การขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้มีการกระจายสินค้าออกไปสู่ตลาดได้กว้างขวางมากขึ้น สินค้า
                     หลายชนิดสามารถขายในตลาดที่อยู่ห่างไกลได้ ทำให้ตลาดมีการแข่งขันกันมากขึ้น และผู้บริโภคมีโอกาส
                     เลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายมากขึ้น  

                2. ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาดในการผลิต 


                                 การขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้สามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณมาก ๆ ซึ่งจะเกิดการใช้
                     ประโยชน์สูงสุดจากเครื่องจักรและแรงงานที่ใช้ในการผลิต นอกจากนี้ยังช่วยให้มีความอิสระในการเลือก
                     สถานที่ตั้งของโรงงานโดยไม่จำเป็น ต้องใกล้กับแหล่งตลาดอีกด้วย  

                3. ทำให้สินค้าที่จำหน่ายมีราคาลดลง 

                                 การขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะช่วยทำให้ต้นทุนของการขนส่งลดต่ำลง ดังนั้น ผลของการที่ต้นทุนค่า
                     ขนส่งลดลง ก็จะทำให้ราคาสินค้าที่จำหน่ายลดลงตามไปด้วย 
                4. สามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้ 

                                 เพราะถ้าส่งสินค้าไปยังที่ที่สินค้าดังกล่าวปริมาณน้อยคนต้องการมาก ย่อมทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น
                 5. ทำให้ประชาชนมีงานทำ 

                                  เพราะการขนส่งต้องใช้แรงงานระดับต่างๆ จำนวนมากจึงทำให้เกิดอาชีพเกี่ยวกับการขนส่งและ
                       อาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง

                  6. ทำให้ประชาชนเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้สะดวก







ประเภทของการขนส่ง  

 
การขนส่งสินค้า สามารถขนส่งได้หลายประเภท ได้แบ่งประเภทของการขนส่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 
                   1. การขนส่งทางรถไฟ (rail)
                   2. การขนส่งรถยนต์หรือรถบรรทุก (truck)
                   3. การขนส่งทางน้ำ (water)
                   4. การขนส่งทางอากาศ (air)
                   5. การขนส่งทางท่อ (pipeline)

การขนส่งแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้  




1. การขนส่งทางรถไฟ
 
 ข้อดี
                   1.  เหมาะสมสำหรับการขนส่งในระยะทางปานกลางหรือไกลๆ เพราะในระยะไกล ๆ ที่รางรถไฟสามารถไป
                        ถึงนั้น ค่าขนส่งสินค้าต่อหน่วยจะต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งทาง รถยนต์ที่คิดตามระยะทาง 
                   2.
การขนส่งสินค้าทางรถไฟสามารถขนส่งสินค้าได้ครั้งละจำนวนมาก
                   3. ปรับตัวตามปริมาณการขนส่งได้ตามความต้องการ เพราะสามารถที่จะเพิ่มหรือลดจำนวนตู้ได้ง่าย 
                   4. มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
                   5. ประหยัดพลังงานและช่วยลดปัญหาการจราจร
                   6. สินค้าที่ขนส่งส่วนมากเป็นสินค้ามูลค่าต่ำและน้ำหนักมาก เช่น ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปูนซีเมนต์ 
                       ข้าว น้ำตาล เป็นต้น
                    7. การขนส่งทางรถไฟสามารถใช้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ได้ จึงเหมาะกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
                    8. ค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่อหน่วยประหยัด น้อยกว่าทางถนน
                    9. ขนส่งได้ทุกสภาพดินฟ้าอากาศ


ข้อเสีย
                     1. ส่งสินค้าได้จำกัดเพียงที่สถานีและตามเส้นทางที่รางรถไฟไปถึงเท่านั้น ไม่สามารถส่งสินค้าถึงบ้านได้ 
                     2. การขนถ่ายสินค้าไม่สะดวก เพราะต้องขนส่งสินค้าไปยังสถานีรถไฟและรับสินค้าจากสถานีเองเช่นกัน 

                          จึงต้องอาศัยการขนส่งประเภทอื่นประกอบหากสถานีต้นทางหรือปลายทางอยู่ห่างจาก แหล่งที่ต้องการ
                          ขนส่งสินค้าไปให้ 
                      3. การขนส่งทางรถไฟมักไม่ตรงเวลาเนื่องจาก ต้องมีการเปลี่ยนรถ ณ สถานีรถไฟหรือชุมทางรถไฟต่าง ๆ
                      4. ขบวนรถไฟมีจำกัด ไม่เพียงพอต่อความต้องการขนส่งสินค้า







2. การขนส่งทางรถยนต์หรือรถบรรทุก 

 ข้อดี
                      1. ใช้เงินลงทุนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งประเภทอื่นๆ
                      2. สะดวกและรวดเร็ว
                      3. มีความยืดหยุ่นสูงทั้งในขนาดระวางบรรทุกและบริการ สามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางและขนาดรถบรรทุก
                          ให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้ ง่าย
                      4. สามารถให้บริการถึงบ้านได้ เนื่องจากการขนส่งประเภทอื่น เช่น รถไฟหรือเครื่องบิน ก็ต้องอาศัยรถยนต์
                          อีกทอดหนึ่ง
                      5. สามารถบริการได้ตลอดเวลาและทันเวลา ไม่จำเป็นต้องมีตารางเวลาเหมือนรถไฟหรือเครื่องบิน
ข้อเสีย
                      1. บรรทุกได้เฉพาะสินค้าที่มีน้ำหนักไม่มากนัก เนื่องจากรถจะมีความจุน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับเรือ 
                      2. เหมาะสำหรับการขนส่งในระยะทางใกล้ถึงปานกลางเท่านั้น
                      3. มีการแข่งขันกันมาก เพราะผู้ประกอบการสามารถใช้บริการขนส่งแบบนี้ได้มาก 












3. การขนส่งทางน้ำ (ทางเรือ)
 ข้อดี
                               1. บรรทุกสินค้าได้มาก  : Huge capacity  เรื่องเป็นยานพาหนะที่สามารถขนส่งสินค้าแต่ละครั้งได้มาก
                               2. บรรทุกสินค้าได้หลากหลายชนิด :  Capabilityเรือมีหลายชนิดซึ่งออกแบบเพื่อขนส่งสินค้าแตกต่างกันไป
               3. ค่าขนส่งต่ำ  :  Low  Cost  เรือมีต้นทุนคงที่และแปรผันต่ำ เรื่อไม่ต้องลงทุนในเส้นทางเดินเรือ
               4. มีความปลอดภัย  :  Safe  เรือในปัจจุบันมีความทนทานและมีความสมดุลในการออกแบบทำให้รั่วซึมและ
                  ล่มยาก
               5. มีมลภาวะต่ำ  :  Pollution  ท่าเรือส่วนใหญ่ให้บริการเก็บขยะและบางท่าเรือมีบริการเก็บของเหลวที่ปน 
                  เปื้อน้ำมันจากเรือ และมีการควบคุมการปล่อยทิ้งลงทะเล
               6. เหมาะกับการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากที่ต้องขนส่งในระยะไกล โดยเฉพาะการขนส่งระหว่างประเทศ
ข้อเสีย
                1. ความเร็วต่ำ: Slow  เรือแล่นไปตามน้ำ พื้นที่ตัวเรือสัมผัสกับน้ำมาก ประกอบด้วยเรือมีน้ำหนักมากทำให้
                    ตัวเรือ จมลึกลงไปในแม่น้ำ  ส่งผลให้เรือต้องใช้กำลังมากในการขับเคลื่อน
                2. มีข้อจำกัดการเข้าถึงผู้ใช้บริการ :  Limited Accessibility  การบริการเรือยังต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ริม
                    ฝั่งนั่นคือ ต้องมีท่าเรือและสิ่งอำนวยความสะดวก
              3. มีต้นทุนขนถ่ายสินค้าซ้ำซ้อน  :  Double Handling Costs การขนส่งทางน้ำไม่สามารถให้บริการสมบูรณ์
                  จากต้นทางถึงปลายทาง ผู้ส่งของต้องนำสินค้าไปที่ท่าเรือเพื่อขนลงเรือและเมื่อสินค้าถึงท่าเรือ ปลายต้อง
                  ยกออกจากเรือ จากนั้นผู้รับสินค้าต้องขนไปยังสถานที่ของตน
              4. เส้นทางเดินเรือบางแห่งสามารถใช้ได้เป็นฤดูกาลเท่านั้น มีความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศ  เรือเดินทาง
                 ไปตามทะเลและมหาสมุทรซึ่งอาจต้องประสบกับคลื่นและลมพายุทำให้การ เดินทางล่าช้าหรือหากมีพายุ
                  รุนแรงในทะเล
             5. มีความถี่เที่ยวเรือต่ำ :  Low Frequency  ปริมาณสินค้าที่ขนส่งทางทะเลมีน้อย ดังนั้น เรือแวะเทียบท่าไม่
                 บ่อยครั้ง
              6. ต้องอาศัยการขนส่งประเภทอื่นประกอบเพื่อส่งสินค้าถึงผู้รับสินค้า









4. การขนส่งทางอากาศ (ทางเครื่องบิน) 
ข้อดี
1. ใช้เวลาในการขนส่งน้อยสินค้าแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะ 
2. สินค้าประเภทแฟชั่น สามารถส่งไปยังตลาดต่าง ๆ ทั่วโลกได้ในเวลาที่รวดเร็ว
3. ลดความเสียหายที่มีสาเหตุจากการขนส่งน้อยที่สุด
4. สามารถทำระยะทางได้ไกลกว่าการขนส่งทางถนน 
5. ความจุของยานพาหนะในการขนส่งสินค้ามากกว่าการขนส่งสินค้าทางบก
        6. สามารถขนส่งสินค้าได้หลากหลายประเภท
ข้อเสีย
                        1. เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค่อนข้างสูง เพราะมีอัตราค่าขนส่งสินค้าสูงกว่าอัตราค่าขนส่งประเภท
            อื่น ๆ 
                        2. การขนส่งขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งหากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย
        3. ต้องอาศัยระบบขนส่งสินค้าทางถนนช่วยเพิ่มความสามารถในการเข้าถึง พื้นที่ต่าง ๆ
        4. ใช้ระยะเวลาในการรวบรวมและกระจายสินค้าเพื่อเตรียมการขนส่งเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากความมั่นคง
             ของประเทศ

 
 


  5. การขนส่งทางท่อ
 
ข้อดีของการขนส่งทางท่อ
                1. ต้นทุนขนส่งต่ำ  Low Transportation Costs  การขนส่งทางท่อมีต้นทุนคงที่สูง ซึ่งได้แก่ ค่าที่ดิน ค่าวาง
                    ท่อสถานีสูบ ถังเก็บ   ต้นทุนแปรผันการขนส่งทางท่อต่ำ ได้แก่ ใช้พนักงานน้อยใช้พลังงานน้อย มีอายุ 
                    การใช้งานนานและมีต้นทุนการบำรุงรักษาต่ำ การขนส่งทางท่อจึงมีต้นทุนต่ำ
                2. เป็นรูปแบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง  Extremely Efficient Mode of Transport การขนส่งทาง
                    ท่อใช้ทรัพยากรน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการขนส่งอื่น เช่น ใช้ที่ดินน้อย  ต้นทุนปฏิบัติการทางท่อ
                    จึงต่ำกว่าการขนส่งรูปแบบอื่นๆ
                3. ทำหน้าที่เป็นคลังสินค้า  Provide a Warehouse Function การขนส่งทางท่อมีความเร็วต่ำ และเส้นทางขน
                     ส่งโดยปกติมีระยะทางไกล และท่อก็มีขนาดใหญ่ ดังนั้น ปริมาณสินค้าที่อยู่ในท่อจึงมีมาก ท่อจึงทำ
                     หน้าที่เก็บสินค้าโดยไม่ต้องเสียค่าเก็บไปพร้อมกับหน้าที่เคลื่อน ย้ายสินค้า 
                4. ความสูญหายและเสียหายต่ำ  Low Loss and Damage  การขนส่งทางท่อสินค้าเคลื่อนย้ายโดยไม่มีการจับ
                     ต้อง สินค้าไหลไปตามท่อจากต้นทางไปปลายทาง
                5. เป็นการขนส่งที่เชื่อถือได้ ได้แก่
                                       -  กลไกอุปกรณ์ท่อเสียหายยาก
                                       -  ส่งมอบสินค้าตรงเวลา
                                       -  มีความเสี่ยงน้อยกับการก่อการร้ายและลักขโมย
                                       -  มีความจำเป็นน้อยที่จะต้องมีคลังสินค้าสำรอง
                                 6. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ  Low Environmental Effects  การขนส่งทางท่อให้ทรัพยากรธรรมชาติน้อย 
                                      เส้นทางก่อสร้างวางท่อใช้พื้นดินน้อย การขนส่งทางท่อไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสีย ทางอากาศและ
                                      ทางน้ำ
                                 7. สามารถขนส่งได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                                 8. เป็นการขนส่งที่สร้างความมั่นใจได้ว่าสินค้าจะถึงจุดหมายปลายทางโดยปลอดภัย
                 9. มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ  คือ การขนส่งทางท่อทำให้เกิดการกระจายแหล่งผลิต แหล่งน้ำมันที่อยู่ใน
                     ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลสามารถผลิตเป็นทางการค้าได้ ด้วยการขนส่งทางท่อ การขนส่งทางท่อจึง
                     ช่วยให้มีอุปทานเพิ่มขึ้น ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้น และทำให้โลกเสถียรภาพทางพลังงาน
                     มากขึ้น

ข้อเสียของการขนส่งทางท่อ
                 1. มีความเร็วต่ำ  Slow Speed
                 2. มีระดับสินค้าคงคลังสูง Higher Levels Inventory  การขนส่งทางท่อมีความเร็วต่ำที่สุด สินค้าใช้เวลาเดิน
                      ทางนานจากต้นทางไปปลายทาง สินค้าคงคลังระหว่างเดินทางจึงสูง
                 3. เส้นทางบริการคงที่  Fixed Route of Services เส้นทางท่อเป็นเส้นทางที่เหมือนรางรถไฟ สินค้าจึงต้อง
                      เดินทางไปตามท่อเท่านั้น การขนส่งทางท่อเป็นการขนส่งจากจุดถึงจุด
                 4.  การลงทุนคงที่สูง High Fixed Costs  ผู้ประกอบการขนส่งทางท่อต้องลงทุนซื้อที่ดินเพื่อวางท่อและก่อ
                      สร้างอุปกรณ์
                 5. ข้อจำกัดด้านเส้นทางการขนส่ง โดยเส้นทางของท่อที่ผ่านอาจประสบอุปสรรคจากลักษณะธรรมชาติ 
                      เช่น ผ่านหุบเขา เป็นต้น
                 6. มีสินค้าที่จะขนส่งโดยวิธีนี้เพียงไม่กี่ชนิด เช่น น้ำมัน เป็นต้น